ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
TAX TANK TV
กฎหมายไม่กั๊ก | คลังความรู้เกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจและภาษี

WWW.TAXTANKTV.COM



CASE STUDY


Tax Governance & Risk Management

ควรเตรียมพร้อมอย่างไรสำหรับ "ธรรมาภิบาลทางภาษี" เพราะ...
ธรรมาภิบาล...เป็นเรื่องเชิงป้องกัน...(Preventive Mechanism)
ธรรมาภิบาล...ไม่ใช่เรื่องของการแก้ไขเยียวยา (Non-Remedy Approach)
ธรรมาภิบาล...เป็นเรื่อง "คิดเชิงบวก" (Positive Thinking)
ธรรมาภิบาล...เป็นเรื่อง "คิดล่วงหน้า" (Foreseeable & Futurist)

ผมมีคดีตัวอย่างหลายเรื่อง ได้แก่
Royalties &Cost Allocation - ESSO
BVI Co & Non-Deductible Expense - ChristieniNeilsen
Royalties &Marketing Fee - Philips / Electrolux
Market Price on Property Transaction - Sukhumvit 26 Condominium
Land & House Tax against Lease-Out & Lease-Back - Bangkok Airway
Share Premium - Oxidental Chemical / NEC
Royalties &Management Fee - Thai Tank Terminal

คดีภาษีใหม่ ๆ ที่ศาลฎีกาตัดสินออกมาน่าสนใจหลายเรื่อง อาทิ เช่น

1) ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นหรือ Share Premium

ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น...ไม่ควรอยู่ในส่วนรายได้ที่ต้องเสียภาษีบริษัท...แต่กรมสรรพากรและศาลฎีกา "ตีความ" ว่าเป็น "รายได้ที่ต้องเสียภาษี"...ไม่ใช่ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" หรือ Shareholder's Equity... คดีนี้ ผมวิเคราะห์ให้เห็นถึงแนวโน้มการตีความกฎหมายภาษีที่ "ขยาย" ผลการตีความกฎหมายออกไป...โดยยึดหลักการ "เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ" หรือ#SubstanceOverFormสรุปว่าคดี Share Premium...ผู้เสียภาษีแพ้คดี

2) ค่าบริการด้านการตลาด หรือ Marketing Service Fee

บริษัทไทยจ่ายค่าบริการให้แก่บริษัทต่างประเทศ...แต่มองว่าเป็น "ค่าบริการ" ไม่ใช่ "ค่าสิทธิ"(Non-Royalty) ตามกฎหมายไทย และ ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ประเด็นที่น่าสนใจ คือ มี 2 บริษัทข้ามชาติชื่อดัง คือ Philips และ Electrolux ที่จ่าย “ค่าบริการด้านการตลาด”ไปต่างประเทศ และเชื่อว่า "ค่าบริการ" นี้ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย... ผลของการนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา...อัยการกองคดีภาษีที่รับผิดชอบคดีทั้งสองนำเสนอประเด็นโต้แย้งจาก "สัญญาที่เกี่ยวข้อง" และพบว่ามี "ข้อสัญญา" และ "เงื่อนไขทางธุรกิจ" (Commercial Term)ในสัญญาหลายประเด็นที่ "เข้าข่าย" เป็นเงินได้ประเภท "ค่าสิทธิ" ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอดีต...คดีลักษณะนี้ Minor Food Group เคยแพ้คดีภาษี "ค่าการตลาด" ในสัญญา Franchise Pizza Hut มาแล้ว...ในขณะที่ Louise T. Leonoventชนะคดีและค่าบริการด้านการตลาดไม่ใช่ "ค่าสิทธิ" สรุปว่าคดี "Marketing Service Fee" ของ Philips และ Electrolux...ผู้เสียภาษีแพ้คดี

3) "ราคาตลาด" ของ Condominium

คดีนี้...เป็นกรณีของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แถว Emporium ที่สร้างคอนโดมิเนียมขาย...แต่ "ขายไม่หมด" เพราะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 เหลืออยู่ 4 ห้องสุดท้าย สมัยนั้นคอนโดมิเนียมเค้าทำขายกันห้องละ 200-300 ตรม. แต่สุดท้ายต้องขายออกไป...มิฉะนั้น ดอกเบี้ย Pre-Finance กินหมด ต้องเปลี่ยนเป็น Post-Finance โดยเร็ว _ ซึ่งราคาขาย (เสนอไว้ตอนเปิดโครงการ) 66 ล้านบาท...#ราคาประเมินฯราชการ (เมื่อจดทะเบียนโอน) 44 ล้านบาท...แต่ขายไปที่ 22 ล้านบาท !!! ปัญหาในคดีนี้ คือ ราคาตลาด คือ อะไร...ขายต่ำไปหรือไม่
ศาลฎีกาตัดสินไว้น่าสนใจว่า...ราคาประเมินฯ ราชการ...ไม่ใช่ราคาตลาด...และยอมรับ "ราคาขาย" 22 ล้านบาท ผมวิเคราะห์คดีนี้ว่า...เมื่อหา "ราคาตลาด" ไม่ได้...ก็ต้อง "สร้างตลาด" ขึ้นมา เพื่อให้ได้ราคาตลาด... ทำอย่างไร...เปิดประมูล (ขายทอดตลาด)...หากทำไม่ได้...ต้องหา "ตัวเทียบ" หรือ Comparable Benchmarking ที่ศาลฎีกายอมรับ ในคดีนี้...ไม่มี Auction แต่มีการทำ Site Visit เพื่อหา "ตัวเทียบ" ให้ได้ "ช่วงราคา" ที่เหมาะสม...เน้นว่าต้องเป็น "ช่วงราคา" เพราะ "ราคาตลาด" เป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์ล้วน ๆ...ผลทางภาษีเป็นเรื่องปลายทาง เชื่อหรือไม่...คดีนี้ผู้ซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อทำ Post-Finance เป็น#บุคคลที่เกี่ยวข้องกันคือ บริษัทในเครือ และ กรรมการบริษัทในเครือ เข้ามาซื้อคอนโดมิเนียมที่เหลืออยู่ 4 ห้อง... ที่สำคัญคือ ศาลฎีกาท่านมิได้นำประเด็นนี้มาพิจารณาเรื่อง "การตั้งราคาโอน" หรือ Transfer Pricing เลย...อย่างไรก็ตาม หากกฎหมายนี้นำมาใช้ในปี 2561 (Transfer Pricing Law) ผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือไม่...น่าติดตาม สรุปว่าคดี "ราคาตลาด" สำหรับการขายห้องชุดคอนโดมิเนียม...ผู้เสียภาษีชนะคดี

4) BVI หรือ British Virgin Islands

BVI เป็นหมู่เกาะภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ... ในทางภาษีถือเป็น TaxHaven เพราะบริษัทที่ตั้งอยู่ใน BVI ไม่ต้องเสียภาษี ไม่มีงบการเงินต้องนำไปแสดง... ที่สำคัญคือ การเปิดบัญชีธนาคารของบริษัท BVI หรือ BVI Co สามารถเปิดบัญชีได้ที่ประเทศใดในโลกได้ หากธนาคารในประเทศนั้นยอมให้เปิด เช่น Singapore / Hong Kong / Labuan...ปัจจุบัน ธนาคารไทยไม่ยอมให้เปิดบัญชี BVI Co ในไทย ในคดีนี้...บริษัท คริสเตียนีเนลเซ็น ตั้งบริษัทลูกที่ BVI แล้วส่งเงินไปให้บริษัทลูกกู้เงินร่วมพันล้านบาท...บริษัทลูกไม่มีเงินจ่าย...บริษัทแม่ในไทยจึงแปลงหนี้เงินกู้พันล้านบาทเป็นทุน...ตามด้วยการ "ลดทุน" บริษัทลูก...ผลคือ ขายหุ้นบริษัทลูกออกไปที่ USD 1...ย้ำว่า 1 เหรียญสหรัฐฯ บริษัทไทยนำผลขาดทุนจากการลงทุน(Loss from Investment) มาใช้เป็น "รายจ่ายทางภาษี" ในไทย...สุดท้ายถูกปฏิเสธกลายเป็น..."รายจ่ายต้องห้าม" คดีนี้มีความยาวของคำพิพากษาฎีการ่วม 200 หน้าจากทั้งหมด 8 ประเด็น...ประเด็นที่นำมาวิเคราะห์นี้คือ "การขายเงินลงทุน" แล้วขาดทุน ศาลฎีกา...ท่านตั้งคำถามไว้น่าสนใจมาก ทำไมต้องเป็น BVI Co ขาดทุน...ทำไมไม่เลิกบริษัท...ทำไมต้องขาย ผู้ซื้อเป็นใคร...ทำไมซื้อบริษัทขาดทุน (ที่จริงแล้ว...ผู้ซื้อเป็นบริษัทในกลุ่มของบริษัทไทย) ใครคิดจะตั้งบริษัท BVI...ขอให้คิดให้รอบคอบ...ทางเลือกอื่นมีหรือไม่...คำตอบอยู่ในงานบรรยายครับ...ผมมีทางเลือกให้อีก 3-5 ทางเลือกที่ BVI ไม่ได้ผิด _ แต่ผิดที่ “จุดประสงค์ในการใช้งาน” คดีนี้...มีจุดอ่อนหลายเรื่อง เช่น BVI / ขายเงินลงทุนให้แก่บริษัทในกลุ่ม / ราคาขาย / เหตุผลที่ขาย...หากย้อนเวลากลับไปได้ ควรจะปรับปรุงจุดอ่อนนี้อย่างไร...โปรดติดตามในงานบรรยายครับ สรุปว่า คดี BVI นี้...ผู้เสียภาษีแพ้คดีเฉพาะประเด็น “ผลขาดทุนจากการลงทุน”

5) Royalties against Cost Allocation

Esso ในไทยจ่าย "ค่าใช้จ่ายที่เฉลี่ยจากบริษัทแม่" ในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ผลสุดท้าย...ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย...กลายเป็น "ค่าสิทธิ" ที่ต้องหักภาษี ผมวิเคราะห์ว่า..."ต้นไม้มีพิษ...ผลไม้ย่อมมีพิษด้วย" คดีนี้เป็นเรื่อง Substance Over Form เช่นกัน สรุปว่า คดีเฉลี่ยค่าใช้จ่าย...ผู้เสียภาษีแพ้คดี

6) ManagementFeeand Royalties

คดีนี้ JV Co ในไทยคือ Thai Tank Terminal จ่าย“ค่าบริหารจัดการ” (Management Fee) ออกไปให้แก่บริษัทแม่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์...โดยไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ กรมสรรพากรมองว่า "ค่าบริหารจัดการ" เป็น "ค่าสิทธิ" ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย...แต่ศาลฎีกาท่านมองว่า "ไม่ใช่ค่าสิทธิ" สรุปว่า คดีค่าบริหารจัดการ...ผู้เสียภาษีชนะคดี

7) ภาษีโรงเรือนฯ และ Lease-Out & Lease-Back

คดีสุดท้าย...ศาลฎีกาท่านตัดสินออกมา Bangkok Air เป็นเจ้าของสนามบินสมุย...โอนสิทธิการเช่าให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แล้ว "เช่ากลับ" (เช่าช่วง) กรมสรรพากรมองว่าไม่ใช่การเช่า.. .เพราะสิทธิครอบครองยังอยู่ที่เจ้าของทรัพย์ เทศบาลสมุย...มองว่า เป็นการเช่า 2 ช่วง...จึงช่วย "คำนวณ" ภาษีโรงเรือนฯ ให้ 2 ทอด Bangkok Air สู้คดีไปยังศาลภาษีอากรกลาง...แต่ศาลฎีกาท่านตัดสินใน "ยกสุดท้าย" ว่า...เป็นการเช่าทรัพย์สิน 2 ทอด และไม่คำนึงถึง “Financial Transaction” (True Lease) หรือไม่ สรุปว่า คดีภาษีโรงเรือนฯ นี้ เทศบาลสมุยชนะคดี และกลายเป็นพระเอกให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วไทยใช้เป็นแนวบรรทัดฐานในการ “เก็บภาษีย้อนหลัง” โปรดติดตามต่อไปว่า จะมีคดีภาษีโรงเรือนฯ ในลักษณะนี้ตามมาอีกมากทั่วประเทศ (ก่อนที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมายกเลิกภาษีโรงเรือนฯ ในที่สุด)





taxtanktv.com | แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจและภาษี โดย ชินภัทร วิสุทธิแพทย์ | คำจำกัดสิทธิ | Chinapat Visuttipat
Facebook :TaxTank | Youtube : TAX TANK TV | รวมคำคม | รวมภาพชินภัทร | Contact Us : taxtanktv@gmail.com
March 2018 - Present (C) All Rights Reserved