ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
TAX TANK TV
กฎหมายไม่กั๊ก | คลังความรู้เกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจและภาษี

WWW.TAXTANKTV.COM



ธรรมนูญครอบครัว โดย ชินภัทร วิสุทธิแพทย์


สวัสดีครับวันนี้ผมจะพูดเรื่องธรรมนูญครอบครัว ธรรมนูญครอบครัวมีคนแปลด้วยภาษาอังกฤษหลายคำ ผมเองผมใช้คำว่า “Family Charter” บางคนใช้คำว่า “Protocol” บางคนใช้คำว่า Family Constitution แท้จริงแล้วในกฎหมายไทยไม่มีเรื่องธรรมนูญครอบครัว เรื่องธรรมนูญครอบครัวไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ธรรมนูญครอบครัวไม่ใช่พินัยกรรม ธรรมนูญครอบครัวไม่ใช่สัญญา ใครก็ตามที่ทำธรรมนูญครอบครัวแล้วออกมาในรูปสัญญา แสดงว่าท่านกำลังนำกฎหมายมาใช้กับธรรมนูญครอบครัว
ดังนั้น คำถามคือ ธรรมนูญครอบครัวคืออะไร ธรรมนูญครอบครัวเป็นนามธรรมมาก จะอธิบายในเชิงรูปธรรม คือ กฎกติกาของครอบครัว แต่ละครอบครัวก็จะมีกฎกติกาซึ่งไม่เหมือนกัน ธรรมนูญครอบครัวแต่ละครอบครัวไม่สามารถนำไป Copy นำไปสำเนา เลียนแบบก็ไม่ได้ การทำธรรมนูญครอบครัวต้องเข้าใจ 2คำ คือ 1. Family Senseกับ 2. Human Touch
Family Senseคือ การเข้าใจในความเป็นกงสี ในขณะที่ Human Touch ต้องเข้าใจในความเป็นปัจเจกของสมาชิกในครอบครัวแต่ละคน ดังนั้น เวลาที่ทำธรรมนูญครอบครัวต้องมี 2ประเด็นนี้เป็นปรัชญาที่อยู่เบื้องหลัง คำถามคือ ในธรรมนูญครอบครัวคุยกันเรื่องอะไร คุยเรื่องความเป็นเจ้าของ คุยเรื่องของหุ้น คุยเรื่องผลประโยชน์ คุยเรื่องสวัสดิการครอบครัว คุยเรื่องค่านิยมครอบครัว คุยกันเรื่องทายาทธุรกิจในครอบครัว คุยกันเรื่องสืบสานธุรกิจอย่างไรให้ยั่งยืน
นี่คือหลายประเด็นที่ผมยกตัวอย่างขึ้นมาซึ่งยังไม่หมดนะครับ ในธรรมนูญครอบครัว ในประเทศไทยมีคนทำธรรมนูญครอบครัวแล้วเท่าที่ผมเก็บข้อมูลมา (เม.ย.2561) ไม่ต่ำกว่า 50 ครอบครัว ดังนั้น เมื่อทำธรรมนูญครอบครัว กระบวนการเป็นอย่างไร ส่วนที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดทำธรรมนูญครอบครัวคือ
1 เริ่มต้นต้องคัดเลือกคนในสมาชิกในครอบครัวว่าท่านไหนที่จะมาร่วมทำธรรมนูญครอบครัวด้วย
2 เข้าใจภาพที่เป็นเป็น Family Treeใน Family Treeคือ ใครบ้างที่อยู่ในครอบครัว มีลูก มีหลาน มีคู่สมรสอย่างไร
3นำสมาชิกในครอบครัวที่จะร่วมทำธรรมนูญครอบครัวมาจัดทำแบบสอบถามหรือ Questionnaireประมาณ 100 กว่าข้อ เพื่อทำความเข้าใจว่าประเด็นต่าง ๆ ที่อยู่ในธรรมนูญครอบครัว 100กว่าข้อมีเรื่องอะไรบ้างในประเด็นที่เกี่ยวกับครอบครัว จากนั้น เริ่มสัมภาษณ์รายบุคคล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผล ประมวลผลเสร็จจะได้เอกสารที่เรียกว่า “Issue Book” จากนั้นนำเอกสารเหล่านั้นมาทำ Workshop เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าคนที่เข้ามาร่วมจัดทำธรรมนูญครอบครัวนั้นมองประเด็นต่าง ๆ ในธรรมนูญครอบครัวอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นนำสิ่งที่ได้จาก Workshop ไปเขียนเป็นธรรมนูญครอบครัว พอธรรมนูญครอบครัวจบ “ไม่ได้จบแค่นั้น” ธรรมนูญครอบครัวต้องไปเชื่อมโยงกับสัญญาผู้ถือหุ้นซึ่งมีกฎหมายบังคับว่าด้วยสัญญา ไปเชื่อมโยงกับข้อบังคับของบริษัท บริษัทนี้เองที่เรียกว่า บริษัท Holding ของครอบครัว ซึ่งจะกลายเป็นกงสีที่ไม่มีวันตาย...วันนี้ผมขอจบเพียงเท่านี้...ขอบคุณครับ




taxtanktv.com | แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจและภาษี โดย ชินภัทร วิสุทธิแพทย์ | คำจำกัดสิทธิ | Chinapat Visuttipat
Facebook :TaxTank | Youtube : TAX TANK TV | รวมคำคม | รวมภาพชินภัทร | Contact Us : taxtanktv@gmail.com
March 2018 - Present (C) All Rights Reserved